ลำเท็ง (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ลำเท็ง (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ชื่อ ลำเท็ง (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stenochlaena palustris
Author name (Burm. f.) Bedd.
ชื่อวงศ์ BLECHNACEAE
ชื่ออื่นๆ นีดิง (มลายู-นราธิวาส), ปรงสวน, ผักยอดแดง (ภาคกลาง), ปากุ๊มะดิง (มลายู-ยะลา), ผักกูดแดง, ผักกูดมอญ (กรุงเทพฯ), ลำมะเท็ง (นครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.ยอดอ่อน ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา -
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม่ระบุ

คำอธิบาย : เฟินขึ้นบนดิน แล้วเลื้อยอิงอาศัยตามลำต้นของต้นไม้หรือโขดหิน

ลำต้น :

คำอธิบาย : -

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมีจำานวน 20-30 รูปเรียวแคบ ก้านสั้น ใบย่อยกว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 13-17 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบเรียบ ขอบเป็นกระจักละเอียด ลักษณะคล้ายหนามแหลม ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว เส้นกลางใบมีลักษณะกลม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวก้านใบยาว 40-50 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-0.8 เซนติเมตร กลุ่มอับสปอร์เกิดตรงขอบใบ โคนใบม้วนขึ้นด้านบน ด้านล่างมีอับสปอร์สีน้ำตาลเป็นเม็ดกลมๆ จำนวนมาก สีน้ำตาลเกาะติดอยู่อัดกันแน่น

ดอก :

คำอธิบาย : -

ผล :

คำอธิบาย : -

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP