เกล็ดปลาช่อน
ชื่อ | เกล็ดปลาช่อน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Phyllodium pulchellum |
Author name | (L.) Desv. |
ชื่อวงศ์ | FABACEAE |
ชื่ออื่นๆ | เกล็ดลิ่นใหญ่ (นครราชสีมา), ลิ่นต้น หญ้าสองปล้อง (ภาคกลาง), ลูกหนีบต้น (ปราจีนบุรี), หญ้าเกล็ดลิ่น (ภาคเหนือ ภาคใต้), หางลิ่น (สุราษฎร์ธานี) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ราก : ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับพิการ (อาการผิดปกติของตับ) เปลือกราก : ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ใบ : ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก รูปฝ่ามือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยตรงกลางมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยด้านข้าง ใบเป็นรูปรี รูปไข่ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม มนหรือกลม ขอบใบเรียบ บางครั้งเป็นคลื่น
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกออกเป็นช่อกระจุกประมาณ 3-5 ดอก เรียงอยู่บนแกนช่อดอก ช่อดอกเป็นแบบกระจะ ค่อนข้างยาว ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ใบประดับคล้ายเกล็ดปลา เป็นรูปเกือบกลม ปลายแหลมหรือเว้าตื้น โคนกลมหรือเป็นรูปหัวใจตื้น มีขนทั้ง 2 ด้าน
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ฝักแบน เป็นรูปขอบขนาน หยักคอดเป็นข้อประมาณ 2-4 ข้อ ผิวฝักมีขน มีลวดลายร่างแหชัดเจน เมล็ดเป็นรูปรี
ราก :
คำอธิบาย :