เนียมหูเสือ
ชื่อ | เนียมหูเสือ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Plectranthus amboinicus |
Author name | (Lour.) Spreng. |
ชื่อวงศ์ | LAMIACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ใบหูเสือ (ภาคกลาง), หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ), หูเสือ (ทั่วไป) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ใบและต้น : ใช้กินบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้เจ็บคอ ลดไข้ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม |
ต้น : ไม้ล้มลุก
คำอธิบาย :
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ หักได้ง่าย กิ่งและลำต้นค่อนข้างกลม ต้นอ่อนจะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น เมื่อแก่แล้วจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปลายใบกลมมน โคนใบกลมหรือตัด ขอบใบจักเป็นคลื่นมน ๆ รอบ ๆ ใบ สีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและอวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ แผ่นใบนูน เส้นใบลึก
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่งหรือยอด ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 6-8 ดอก ดอกจะทยอยบานทีละ 1-2 ดอก ดอกย่อยติดกันหนาแน่นเป็นวงรอบแกนผล เป็นระยะ ๆ และมีขน ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วงขาว ลักษณะเป็นรูปเรือ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ กลีบบนสั้น ตั้งตรง และมีขน ส่วนกลีบล่างมีลักษณะยาวและเว้า ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ตอนโคนล้อมก้านเกสรเพศเมียไว้ กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง มีขน และมีต่อม ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก แฉกบนเป็นรูปไข่กว้าง ปลายแหลม ส่วนแฉกข้างเป็นรูปหอกแคบ โดยแฉกล่างจะยาวกว่าแฉกอื่นเล็กน้อย ส่วนใบประดับมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ก้านสั้น
ผล :
คำอธิบาย : ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกผลแข็ง
ราก :
คำอธิบาย :