ทิ้งถ่อน

ทิ้งถ่อน

ชื่อ ทิ้งถ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia procera
Author name (Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ ควะ เยกิเด๊าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), เชอะบ้อง ซะบ้อง เส่บ้อง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), ถ่อน (ทั่วไป), ส่วน (เชียงใหม่ เลย)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา รากและแก่น : แก้ปวดหลัง ปวดเอว เส้นตึง และท้องอืด เปลือก : แก้ธาตุพิการ ช่วยเจริญอาหาร ขับผายลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใบ : ฆ่าแมลง
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้น สูงถึง 30 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : ลำต้นแตกกิ่งก้านต่ำและโปร่ง ลำต้นเปลาตรง ทรงพุ่มเป็นเรือนยอด ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย ต้นแก่สีเทาถึงสีน้ำตาล เปลือกต้นมีรอยด่างเป็นสีน้ำตาลกระจาย

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน เหนือโคนก้านมีต่อมขนาดปลายก้าน มีต่อมเป็นรูปร่างกลมนูน ก้านใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย มีใบย่อยประมาณ 5-12 คู่ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปไข่กลีบ รูปขอบขนาน หรือรูปรี ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบมนหรือเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนทั้งสองด้านหรือหลังเรียบ ส่วนท้องใบมีขนสั้นปกคลุม

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยประมาณ 15-25 ดอก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก หรือมีแต่สั้นมาก ดอกเป็นสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรขาวแกมสีเหลืองอ่อน ติดกันเป็นหลอด ผิวเรียบ ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ปลายกลีบดอกมีขนเล็ก ๆ เกสรเพศผู้จำนวนมาก

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ฝักแบน ฝักเมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 6-12 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะแบนรี

ราก :

คำอธิบาย :

TOP