บานบุรี

บานบุรี

ชื่อ บานบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allamanda cathartica
Author name L.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่นๆ บานบุรีเหลือง (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : ทำให้อาเจียน แก้อาการจุกเสียด เป็นยาถ่าย ยาระบาย เปลือกและยาง : เป็นยาถ่าย ขับน้ำดี
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย หรือเป็นไม้เถาอาศัยต้นไม้อื่นเพื่อพยุงตัวขึ้นไป

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นหรือเถามีลักษณะกลมเรียบและเป็นสีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ลำต้นไม่มีขน

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว และจะติดเป็นคู่อยู่ตรงข้ามกัน หรืออาจจะติดอยู่รอบ ๆ ข้อ ข้อละประมาณ 3-6 ใบ ลักษณะของใบบานบุรีเป็นรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปหอก รูปรี หรือเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณยอด โดยจะออกตามวอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ส่วนดอกย่อยเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปหอก ปลายกลีบดอกมนใหญ่ โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้นหรือเป็นหลอดแคบ ดอกตูมนั้น กลีบดอกจะบิดไปในทางเดียวกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 5 อัน ติดอยู่ด้านในใกล้กับโคนท่อดอก ส่วนเกสรเพศเมียนั้นมีช่องเดียว ภายในมีรังไข่อ่อนเป็นจำนวนมาก ก้านเกสรมีขนาดสั้นและมีขน ส่วนอับเรณูมีลักษณะเป็นรูปคล้ายหัวลูกศร ดอกมีขนาดใหญ่

ผล :

คำอธิบาย : ผลเป็นรูปทรงกลม เป็นหนาม เมื่อแก่จะแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ดรูปไข่จำนวนมาก

ราก :

คำอธิบาย :

TOP