มะลิลา

มะลิลา

ชื่อ มะลิลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac
Author name (L.) Aiton
ชื่อวงศ์ OLEACEAE
ชื่ออื่นๆ ข้าวแตก (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า เชียงใหม่), มะลิ (ทั่วไป), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ Arabian jasmine
แหล่งอ้างอิง Arabian jasmine
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ดอก : บำรุงหัวใจ ดับพิษร้อน ทำให้จิตใจชุ่มชื่น บำรุงครรภ์ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก : ต้มน้ำดื่มแก้ปวดศรีษะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หลอดลมอักเสบ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย : กิ่งอ่อนสีเขียวมีขนสั้น กิ่งแก่สีน้ำตาลอ่อน

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่รีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านท้องใบเห็นเส้นใบชัดเจน เส้นใบขนาดใหญ่มี 4-6 คู่ ก้านใบสั้นและมีขน

ดอก :

คำอธิบาย : ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอกซ้อนจะเรียกว่า "มะลิซ้อน" ส่วนดอกที่ไม่ซ้อนเรียกว่า "มะลิลา" โดยทั้งสองชนิดจะเป็นดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ซึ่งดอกมะลิลาจะมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกมะลิซ้อน ขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมะลิลาปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้ 2 ก้านติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว และมักไม่ติดผล

ผล : ผลสด

คำอธิบาย : ผลเป็นผลสด

ราก :

คำอธิบาย :

TOP