พะยอม
ชื่อ | พะยอม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Shorea roxburghii G.Don |
Author name | |
ชื่อวงศ์ | |
ชื่ออื่นๆ | กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), แคน (เลย), พะยอม, สุกรม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน) ขะยอมดง พะยอมดง |
ชื่อสามัญ | Shorea, White meranti |
แหล่งอ้างอิง | Shorea, White meranti |
การใช้ประโยชน์ | - ดอกอ่อนสามารถนำมารับประทานสดได้ หรือจะนำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด หรือจะนำมารับประทานเป็นน้ำซุปร้อน ๆ หรือนำมาแกงส้ม - เนื้อไม้ สีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล นำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆไป - เปลือกต้นใช้รับประทานกับใบพลูแทนหมาก ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ไว้ใช้รองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวและน้ำตาลจากต้นตาลโตนด หรือนำมาใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูดกันเสียได้ ชันที่ได้จากต้นพะยอมสามารถใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือได้ - เปลือกต้นมีสารแทนนินชนิด Pyrogallol และ Catechol ในปริมาณสูง จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง - ต้นไม้ที่สามารถปลูกได้ดีในที่แล้ง ซึ่งอาจปลูกไว้เพื่อความสวยงามให้ร่มเงาตามบ้านเรือนก็ได้ และดอกยังมีความสวยงามมาก แต่จะออกดอกปีละครั้ง และออกดอกพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก - คนไทยโบราณเชื่อว่า ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม และยังเชื่อว่าจะช่วยทำให้ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงินทองด้วย เพราะจะทำให้ผู้คนต่างให้ความเห็นใจนั่นเอง โดยการปลูกเพื่อเอาคุณนั้นให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและควรปลูกในวันเสาร์ |
สรรพคุณทางยา | - ดอก รสหอมสุขุม ปรุงเป็นยาแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ - เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผล รักษาผดผื่นคัน ทุบเปลือกต้นใส่น้ำตาลสดที่ปาดจากงวงตาลเพื่อกันบูด หรือใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูด เปลือกใช้ฟอกหนังและเคี้ยวกับหมากได้ - ยอดอ่อนและเปลือก เป็นยาสมานแผล ทำยาเย็นแก้ไข้ แก้ร้อนใน - ชันไม้ ใช้เป็นน้ำมันชักเงา และยาเรือ - ดอกอ่อน มีรสมัน ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาแกงส้ม ต้มจืด ผัดน้ำมันหอย ผัดกับไข่ หรือชุบไข่ทอด |
ต้น :
คำอธิบาย :
ลำต้น :
คำอธิบาย :
ใบ :
คำอธิบาย :
ดอก :
คำอธิบาย :
ผล :
คำอธิบาย :
ราก :
คำอธิบาย :