ตะแบกนา (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา)

ตะแบกนา (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา)

ชื่อ ตะแบกนา (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia floribunda
Author name Jack var. cuspidata C. B. Clarke
ชื่อวงศ์ LYTHRACEAE
ชื่ออื่นๆ กระแบก (สงขลา); ตราแบกปรี้(เขมร); ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด); บางอยามู(นราธิวาส); เปื๋อยด้อง, เปื๋อยนา (ลำปาง) ; เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ - ปลูกเป็นไม้ประดับ และสมุนไพร
สรรพคุณทางยา 1.เปลือกต้น รสฝาด แก้บิด แก้บิดมูกเลือด หรือลงแดง แก้ไข้อติสาร แก้ท้องร่วง แก้ถูกยาพิษ 2.เนื้อไม้ รสฝาดร้อน ขับโลหิตระดูสตรี แก้ระดูพิการเป็นลิ่มเป็นก้อนสีดำมีกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้เจ็บปวดในท้องน้อย หลังบั้นเอว แก้โลหิตจาง บำรุงโลหิต แก้ผอมแห้ง ขับระดูขาว 3.ใบ รสฝาดขม แก้ไอ 4.ราก รสฝาด แก้ไข้ปวดกล้ามเนื้อ 5.ขอนดอก รสสุขุมหอม บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงหัวใจ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นเปลา เปลือกเรียบ ลอกหลุดเป็นแผ่นบางๆ สีนวล

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ใบอ่อนมีขนรูปดาวทางด้านบนและตามเส้นใบ

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : แบบช่อกระจุกเชิงประกอบ ออกตามปลายกิ่ง ดอกตูมรูปลูกข่าง มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น มีสันนูนตามยาว ดอกแรกบานสีชมพูอ่อนถึงม่วงแล้วเปลี่ยนเป็นสีจางลงจนเกือบขาว

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : แตกกลางพู รูปทรงกระบอกแกมรูปทรงรี มีขนสั้นนุ่มทั่วผลและหนาแน่นบริเวณปลายผล เมล็ดค่อนข้างแบน มีปีก

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP