ชะมวง
ชื่อ | ชะมวง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Garcinia cowa Roxb. |
Author name | |
ชื่อวงศ์ | |
ชื่ออื่นๆ | หมากโมก(อุดรธานี),กะมวง(ใต้),มวงส้ม(นครศรีธรรมราช) ,ชะมวง(กลาง) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | - ผลสุกสีเหลืองรับประทานเป็นผลไม้ โดยจะมีรสเปรี้ยวอมหวานหรือจะนำผลมาหั่นเป็นแว่นตากแดดใส่ปลาร้าเพื่อเพิ่มรสชาติก - ยอดอ่อนหรือใบอ่อนรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น - ผลและใบอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน โดยจะมีรสเปรี้ยวคล้ายกับมะดัน (การรับประทานมาก ๆ จะเป็นยาระบายท้องเหมือนดอกขี้เหล็ก) - ผลและใบแก่เมื่อนำมาหมักจะให้กรด ซึ่งนำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควายที่ใช้แกะสลักรูปหนังตะลุงได้เป็นอย่างดี - ต้นใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มเงาได้ดี - ลำต้นหรือเนื้อไม้ชะมวงนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ฯลฯ - เปลือกต้นและยางของต้นจะให้สีเหลืองที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้า - น้ำยางสีเหลือง สมัยก่อนนำมาใช้ผสมในน้ำมันชักเงา - ยอดอ่อนชะมวงเมื่อนำไปหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว เป็นยาปราบศัตรูพืชได้ |
สรรพคุณทางยา | - ราก ผสมรากปอด่อน รากตูมกาขาว และรากกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย - แก่น ฝนหรือแช่น้ำดื่ม แก้อาการเหน็บชา - เปลือกต้นและยาง มีสีเหลือง ใช้ย้อมผ้า - ใบอ่อนและผลอ่อน มีรสเปรี้ยวรับประทานได้ - ใบหรือผล รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย แก้ไข้ กระหายน้ำ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ ราก มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ตัวร้อน แก้บิด แก้เสมหะ - ใบ มีรสเปรี้ยว ปรุงเป็นยากัดฟอกเสมหะ และโลหิต แก้ไอ ผสมกับยาชนิดอื่นๆปรุงเป็นยาขับเลือดเสีย - ใบและดอก เป็นยาระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ รักษาธาตุพิการ - ผล หั่นเป็นแว่นตากแห้ง ใช้กินเป็นยาแก้บิด |
ต้น :
คำอธิบาย :
ลำต้น :
คำอธิบาย :
ใบ :
คำอธิบาย :
ดอก :
คำอธิบาย :
ผล :
คำอธิบาย :
ราก :
คำอธิบาย :