แหนนา (พันธุ์ไม้ปกปัก)

แหนนา (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ชื่อ แหนนา (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia glaucifolia
Author name Craib
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่นๆ ตีนนก (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี), หางแหน (บุรีรัมย์), แหน (ทั่วไป), แหนขี้นก (เหนือ), แหนนก, แหนนา (กลาง,เหนือ), แหนปีกใหญ่ (ชลบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อสร้างแต่ไม่คงทน
สรรพคุณทางยา -
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้นผลัดใบช่วงสั้น สูงถึง 20 เมตร เรือนยอดกลมและกิ่งค่อนข้างห้อยลง แตกกิ่งทางข้างชัดเจน

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกสีครีมถึงสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นหรือเป็นแผ่นเล็กๆ เปลือกในสีน้ำตาลเข้ม เส้นใยหนาแน่น

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรีถึงรูปไข่กลับ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างเป็นนวลเกลี้ยง ทั้งสองด้าน มีต่อมกลม 1 คู่ที่กึ่งกลางหรือใกล้ปลาย กิ่งสีน้ำตาลแดงอมเข้ม ช่องอากาศ จำนวนมาก

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกช่อเชิงลดไม่แตกแขนง สีครีมถึงเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงปลายจักเป็นพูสามเหลี่ยม ยาว 1± มิลลิเมตร มีขนแน่นด้านใน เกสรเพศผู้ยาว 5 มิลลิเมตร จานฐานดอกและรังไข่มีขนแน่น ก้านเกสรเพศเมียยาว 2 มิลลิเมตร

ผล :

คำอธิบาย : ผลกลมหรือรูปไข่ มีปีกกว้าง 2 ปีก กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ปีกแต่ละปีกกว้างมากกว่า ยาวเล็กน้อย ตัวผลกลมมีสันและร่องทั้งสองด้าน ขนกำามะหยี

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP