ละหุ่ง
ชื่อ | ละหุ่ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ricinus communis |
Author name | L. |
ชื่อวงศ์ | EUPHORBIACEAE |
ชื่ออื่นๆ | คิติ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คีเต๊าะ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร), ปีมั้ว (จีน), มะละหุ่ง ละหุ่งแดง (ทั่วไป), มะโห่ง มะโห่งหิน (ภาคเหนือ) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | เมล็ด : น้ำมันจากเมล็ด ใช้กินเป็นยาระบายหรือยาถ่ายอย่างอ่อน ใบสด : มีฤทธิ์ฆ่าแมลงบางชนิดได้ ต้มกินเป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง ขับน้ำนม ขับระดู ขับลม เผาไฟพอกแก้ปวดบวม ราก : รสจืด ตำเป็นยาพอกเหงือกแก้ปวดฟัน ต้มกินเป็นยาระบาย |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 6 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย :
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปฝ่ามือ มีแฉกประมาณ 6-11 แฉก ปลายแฉกแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนาดไม่เท่ากัน
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด มีทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้จะอยู่ช่วงบน ดอกเพศเมียจะอยู่ช่วงล่าง
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลแห้งแบบแคปซูล ทรงรี ผลมีพู 3 พู รูปไข่ สีเขียว ผิวมีขนคล้ายหนามอ่อน ๆ เมล็ดรูปทรงรี
ราก :
คำอธิบาย :