ถอบแถบเครือ (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อ | ถอบแถบเครือ (พันธุ์ไม้ปกปัก) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Connarus semidecandrus |
Author name | Jack |
ชื่อวงศ์ | CONNARACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กะลำเพาะ (กลาง), ขางขาว, ขางแดง, ขางน้ำครั่ง, ขี้อายเครือ (เหนือ), เครือหมาว้อ (หนองคาย), เครือไหลน้อย (เชียงราย), จำเพาะ (กลาง), ถอบแถบเครือ (กลาง), ลาโพ, หมากสง (ใต้), ลำเพาะ |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | 1.เนื้อไม้ หยาบใช้ทำเชือก 2.ใบอ่อน ต้มกินเป็นผัก |
สรรพคุณทางยา | 1.น้ำต้มรากในไทยและมาเลเซีย ใช้แก้เจ็บในอกและแก้ไข้ 2.ใบและลำต้น เป็ยาถ่ายและแก้พยาธิในเด็ก |
ต้น : ไม้เลื้อย/ไม้เถา
คำอธิบาย : ไม้รอเลื้อยหรือไม้เลื้อยเนื้อแข็ง
ลำต้น :
คำอธิบาย : เปลือกสีน้ำตาลอมเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม และจะเริ่มขรุขระ เป็นเกล็ด เปลือกในสีชมพูถึงน้ำตาลอมแดง
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบ มีใบย่อย 3 คู่ หรือใบประกอบขนนกปลายคี่ ใบย่อยรูปรีถึงรูปหอก ปลายทู่ถึง เรียวแหลม โคนรูปลิ่มถึงกลมขอบไม่จัก ใบอ่อนสีส้มอ่อน ด้านล่างสีเขียวอมเทาเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกช่อแตกแขนง สีขาวหรือสีอมชมพู ออกใกล้ปลายกิ่งหรือตามซอกใบบนๆ กลิ่นหอม สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาว 2-4 มิลิเมตร โคนเชื่อมกันเล็กน้อย กลีบดอก 5 กลีบ รูปใบหอกแกบแถบแคบ ปลายท ู่ เกสรเพศผ ู้10 อัน โคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น 5 อัน ที่ติดตรงกับกลีบดอกสั้นกว่าอันอื่น และมักเป็นหมัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่มีขนแน่น ก้านเกสรเพศเมีย อาจสั้นหรือยาว
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลรูปลูกแพร์หรือรี มีจงอยสั้นที่ปลาย โคนแคบคล้ายก้าน ยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร เปลือกบางมีขนละเอียดสีสนิม เมื่อแก่เกลี้ยงสีเหลืองอ่อน
ราก :
คำอธิบาย : -