ตะไคร้หอม
ชื่อ | ตะไคร้หอม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cymbopogon nardus |
Author name | (L.) Rendle |
ชื่อวงศ์ | POACEAE |
ชื่ออื่นๆ | จะไครมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) |
ชื่อสามัญ | Citronella grass |
แหล่งอ้างอิง | Citronella grass |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ใบ : มีน้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นยาไล่ยุง รากและเหง้า : ต้มน้ำกินแก้แผลในปาก ขับประจำเดือน แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ แก้อาการน่นจุกเสียด แก้ไข้ |
ต้น : ไม้ล้มลุก
คำอธิบาย : ไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า สูงประมาณ 2 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นแตกจากเหง้าใต้ดินเป็นกอ ลำต้นเป็นข้อๆ
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาวกว่าตะไคร้บ้าน ลักษณะของใบกว้าง 5-20 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร แผ่นใบแคบ ยาว และนิ่มกว่าตะไคร้บ้าน มีสีเขียว ผิวเกลี้ยง และมีกลิ่นหอมเอียน ปลายใบห้อยลงปรกดิน ก้านใบเป็นกาบซ้อนกันแน่นสีเขียวปนม่วงแดง ต้นและใบมีกลิ่นฉุนจนรับประทานเป็นอาหารไม่ได้
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอด ชูก้านช่อดอกยาวออกมาจากส่วนกลางต้น มีช่อดอกใหญ่ ยาวประมาณ 2 เมตร แยกออกเป็นแขนง เป็นช่อฝอย แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยสีน้ำตาลแดง เป็นพืชที่ออกดอกยาก
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ราก :
คำอธิบาย :