กระท้อน
ชื่อ | กระท้อน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Sandoricum koetjape |
Author name | (Burm.f.) Merr. |
ชื่อวงศ์ | MELIACEAE |
ชื่ออื่นๆ | เตียน, ล่อน, สะท้อน (ใต้), มะต้อง (เหนือ, อุดรธานี) มะตื๋น (เหนือ), สตียา, สะตู (มลายู-นราธิวาส), สะโต (มลายู-ปัตตานี) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | - ชาวมาเลเซียใช้เปลือกกระท้อนเป็นยากินหลังการคลอดบุตร และใช้เปลือกป่นบำบัดกลาก ใช้นำ้คั้นจากใบกินบรรเทาอาการจับไข้ -เนื้อไม้ค่อนข้างหยาบ สีแดงเรื่อๆ ปนเทา ใช้ในร่มทนทานพอประมาณ |
สรรพคุณทางยา | 1.ราก ใช้เป็นยาแก้บิด ถ้าสุมเป็นถ่านกินเป็นเป็นยาดับพิษแก้ร้อนใน ถอนพิษ ไข้รากสาด ปรุงเป็นยามหานิล |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งต่ำ ปลายกิ่งลู่ลง
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : ลำต้นเปลา โคนมักเป็นพอน เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ค่อนข้างเรียบและแตกล่อนเป็น สะเก็ดใหญ่ๆ
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบขนนกสามใบย่อย เรียงเวียน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้างหรือค่อนข้างกลม ปลายแหลมโคนมน ใบย่อยคู่ข้างโคนเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นห่างๆ มีก้านยาว 2-8 มิลลิเมตร ใบอ่อนมีขนสีเหลืองอ่อนทั้งสองด้าน ขนจะร่วงเมื่อใบแก่ ใบแก่สีเขียวเข้ม เมื่อจะทิ้งใบเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกช่อแบบช่อแขนง ออกตามง่ามใบ สีเขียวอมเหลือง มีจำนวนมาก กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนติดกันคล้ายรูป ระฆัง เกสรเพศผู้มี 10 อัน ติดกันเป็นหลอด อับเรณูติดอยู่ภายในหลอด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
ผล : ผลสด
คำอธิบาย : ผลสด ฉ่ำน้ำ รูปกลมแป้น เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม มียางสีขาวเล็กน้อย สุกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม มี 3-5 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นปุยหนาสีขาว รสเปรี้ยวหรือหวาน
ราก :
คำอธิบาย : -