นุ่น

นุ่น

ชื่อ นุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceiba pentandra (L.) Gaertn.
Author name
ชื่อวงศ์
ชื่ออื่นๆ ง้าว งิ้วสาย งิ้วสร้อย งิ้วน้อย (ภาคเหนือ), นุ่น (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ White silk cotton tree, Kapok tree
แหล่งอ้างอิง White silk cotton tree, Kapok tree
การใช้ประโยชน์ - ฝักที่ยังอ่อนมาก ๆ (เนื้อในผลยังไม่เป็นปุยนุ่น) ใช้เป็นอาหารได้ โดยนำมารับประทานสด ๆ หรือใส่ในแกง - เมล็ดใช้สกัดทำเป็นน้ำมันพืช ส่วนกากที่เหลือจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ - ไส้นุ่นสามารถนำมาใช้เพาะเห็ดฟางได้ - ขนที่ติดอยู่ที่เมล็ดซึ่งเรียกว่า “นุ่น” หรือ “เส้นใยนุ่น” สามารถนำมาใช้ยัดหมอน ฟูก และที่นอนได้ - เนื้อไม้ใช้ทำกระสวยทอผ้า เยื่อกระดาษ ส้นรองเท้า และนำมาบดทำไส้ในไม้อัด - นิยมนำมาปลูกเป็นพืชสวนเพื่อเก็บผลมาใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ แก้ไข้ เปลือกต้น รสเย็นเอียน แก้ไข้ แก้บิด แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ทำให้อาเจียน บำรุงกำหนัด ต้มดื่มแก้หืด แก้หวัดในเด็ก ต้มร่วมกับหมาก ลูกจันทน์เทศ และน้ำตาล ดื่มขับปัสสาวะ ใช้ได้ดีในรายที่เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ดอกแห้ง แก้ไข้ แก้ปวด ราก รสจืดเอียน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง แก้บิดเรื้อรัง แก้ท้องเสีย ทำให้อาเจียน ขับปัสสาวะ แก้พิษแมลงป่อง ตำคั้นเอาน้ำดื่ม แก้เบาหวาน เมล็ด รสเอียนมัน น้ำมันจากเมล็ด รสร้อน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ยางไม้ รสฝาดเมา เป็นยาบำรุงกำลัง ฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้ระดูขาวมากเกินไป ใบ รสเย็นเอียน ตำพอกแก้ฟกช้ำ เผาไฟ ผสมหัวขมิ้นอ้อยและข้าวสุก พอกฝี ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ แก้โรคเรื้อน ตำกับหัวหอม ขมิ้น ผสมน้ำดื่มแก้ไอ แก้เสียงแหบ แก้หวัดลงท้อง แก้ท่อปัสสาวะอักเสบ ใบอ่อนรับประทานแก้เคล็ดบวม ผลอ่อน รสหวานฝาดเย็น เป็นยาสมาน ราก แก้บิด แก้ลำไส้อักเสบ คั้นเอาน้ำ ทานแก้โรคเบาหวาน เมล็ด ขับปัสสาวะ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น :

คำอธิบาย :

ลำต้น :

คำอธิบาย :

ใบ :

คำอธิบาย :

ดอก :

คำอธิบาย :

ผล :

คำอธิบาย :

ราก :

คำอธิบาย :

TOP