กระเบา

กระเบา

ชื่อ กระเบา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydnocarpus anthelminthicus
Author name Pierre ex Laness.
ชื่อวงศ์ ACHARIACEAE
ชื่ออื่นๆ กระเบาค่าง (ยะลา), กระเบาแดง มันหมู (ตรัง), กระเบาตึก (เขมร ตะวันออก), กระเบาน้ำ กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่ กาหลง (ภาคกลาง), ตัวโฮ่งจี๊ (จีน) , เบา (สุราษฎร์ธานี), เบาดง (สตูล), หัวค่าง (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา รากและเนื้อไม้ : แก้โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิผิวหนังต่างๆ รักษาแผล แก้เสมหะ ใบ : แก้พิษบาดแผลสด แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผล : แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน เมล็ด น้ำมันที่บีบจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค เป็นยาถ่ายพยาธิ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 15 เมตร รูปทรงสูงโปร่ง

ลำต้น : เปลือกเรียบ

คำอธิบาย : ลำต้นเปลาตรง เปลือกลำต้นเรียบและเป็นสีเทา

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรียาวแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ

ดอก : ดอกเดี่ยว

คำอธิบาย : ดอกเป็นดอกแยกเพศ ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ สีขาวนวล

ผล :

คำอธิบาย : ผลใหญ่ รูปทรงกลม เปลือกผลหนาแข็งสีน้ำตาล ผิวผลมีขนคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เมล็ดรีหรือรูปไข่เบี้ยว ปลายมนทั้งสองข้าง

ราก :

คำอธิบาย :

TOP