หมีเหม็น (พันธุ์ไม้ปกปัก)

หมีเหม็น (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ชื่อ หมีเหม็น (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litsea glutinosa
Author name (Lour.) C.B. Rob.
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่นๆ หมูเหม็น (แพร่), อีเหม็น (กาญจนบุรี, ราชบุรี), หมี (ลำปาง, อุดรธานี), หมูทะลวง (จันทรบุรี), ดอกจุ๋ม (ลำปาง), ตังสีไพร (พิษณุโลก), ทังบวน (ปัตตานี), ม้น (ตรัง), มะเย้อ, ยุบเหยา (ภาคเหนือ, ชลบุรี), มือ
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.ผล รับประทานได้
สรรพคุณทางยา 1.ราก เป็นยาฝาดสมาน และยาบำรุง 2.ใบ เป็นยาฝาดสมาน แก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง ตำพอกเป็นยาพอกบาดแผลเล็กๆ 3.ผล เป็นยานวดแก้ปวด
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้น สูงประมาณ 5-15 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมเล็กๆ

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ฐานใบมน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นในค่อนข้างหนาและเหนียว แผ่นใบทั้งสองด้านมีขน ใบมีกลิ่น

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ออกตามง่ามใบเป็นช่อ แบบซี่่ร่ม ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นหรือร่วมต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ 2-4 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แยกกัน กลีบดอกมีหลายกลีบ เกสรเพศผู้จำานวนมาก เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล :

คำอธิบาย : ผลสด รูปทรงกลม เมล็ดเดียว แข็ง

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP