เกล็ดปลาหมอ

เกล็ดปลาหมอ

ชื่อ เกล็ดปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllodium elegans
Author name (Lour.) Desv.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ สามสิบประดง (ยโสธร)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ราก : ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับพิการ (อาการผิดปกติของตับ) ผสมกับรากกระดูกอึ่ง รากกาสามปีกใหญ่ รากโมกมันและรากหางหมาจอก ต้มน้ำดื่มแก้คุณไสย ใบ : แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น รักษาแผลพุพอง ดอก : แก้อาเจียน ทั้งต้น : ปรุงเป็นยาแก้ตับพิการ แก้พยาธิใบไม้ในตับ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 0.5-2 เมตร ปลายกิ่งโค้งลง

ลำต้น : เปลือกเรียบ

คำอธิบาย : กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เปลือกต้นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย ใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยด้านข้าง รูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือกลม ขอบเรียบ บางครั้งเป็นคลื่น แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนมีขนสั้นนุ่ม บาง ๆ เมื่อแก่ผิวจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม หนาแน่น

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ช่อดอกออกเป็นกระจุก 3-5 ดอก เรียงอยู่บนแกนช่อดอก แบบช่อกระจะค่อนข้างยาว ออกที่ซอกใบ ดอกแต่ละกระจุกมีใบประดับคล้ายใบประกบหุ้มไว้ 2 ใบ ใบประดับมีรูปร่างคล้ายเกล็ดปลา รูปเกือบกลมปลายแหลมหรือเว้าตื้น โคนกลมหรือรูปหัวใจตื้น มีขนทั้งสองด้าน มีใบประดับอีกหนึ่งใบอยู่ปลายสุด ลดรูปเป็นเส้นใบประดับย่อย

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลเป็นฝักแบน ฝักรูปขอบขนาน หยักเป็นข้อ 2-4 ข้อ ผิวมีขน มีลวดลายแบบร่างแหชัดเจน เมล็ดรูปรี กว้าง

ราก :

คำอธิบาย :

TOP