มะไฟ

มะไฟ

ชื่อ มะไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Baccaurea ramifora
Author name Lour.
ชื่อวงศ์ PHYLLANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ ขี้หมี (เหนือ), แซเครือแซ (แม่ฮ่องสอน), มะไฟ (ทั่วไป), มะไฟกา (ใต้), มะไฟป่า (ตะวันออก-ตะวันออกเฉียงใต้), ส้มไฟ (ใต้), หัมกัง (เพชรบูรณ์)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.ผล กินได้มีรสหวานและฉ่ำน้ำ 2.เปลือก เป็นสีย้อมให้สีน้ำตาล 3.เนื้อไม้ แข็งและทนทาน ใช้ก่อสร้างทั่วไป
สรรพคุณทางยา ใบ : ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้โรคหวัด บรรเทาอาการไอ ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่ายพยาธิ ผล : เป็นยาช่วยย่อย รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ขับเสมหะและช่วยละลายเสมหะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นเป็นร่อง แตกกิ่งด้านข้างชัด เปลือกสีครีมอ่อนหรือสีน้ำตาลอมส้มเกลี้ยงหรือแตกเป็นเกล็ด ค่อนข้างบาง

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นเป็นร่อง แตกกิ่งด้านข้างชัด เปลือกสีครีมอ่อนหรือสีน้ำตาลอมส้มเกลี้ยงหรือแตกเป็นเกล็ด ค่อนข้างบาง

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกแน่นเป็นช่วงๆ บนกิ่ง รูปรีแคบหรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมสั้น โคนสอบแคบ ใบอ่อนสีออกแดง มีขนสีน้ำตาลสั้น ใบแก่บาง สีเขียวเข้มและเป็นมันด้านบน ก้านใบยาวเรียว ยาว 2-7 เซนติเมตร ปลายบวม หูใบกว้าง 1-2.5 มิลลิเมตร ยาว 2.5-6 มิลลิเมตร

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ สีเหลือง ออกเป็นช่อเล็กไม่แตกกิ่ง ยาวได้ถึง 10(15) เซนติเมตร ก้านดอกยาว 0.8-2.6 มิลลิเมตร ที่โคนมีใบประดับปลายแหลม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ มีรูปร่างต่างๆ ปลายโค้ง มีขนสีเทาหนาแน่น ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 4-8 อันแยกกัน ก้านชูอับเรณูตั้งตรง ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อและห้อยยาว 10-15 เมตร ตามกิ่งแก่และลำาต้นหลักไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงยาว 6 มิลลิเมตร รังไข่มีขนสีน้ำตาล ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นง่าม

ผล :

คำอธิบาย : ผล ออกเป็นช่อตามกิ่งแก่และลำต้นหลัก สีส้มอ่อนเมื่อแก่ม่วงอมแดง รูปไข่ถึงรูปรีหรือรูปกลม ปลายมีจะงอย เกลี้ยงหรือมีขนไม่ชัด ผนังหนา แก่จัดแตก มีเมล็ด 2-4 เมล็ด มีเนื้อใสหรือ สีชมพู กินได้มีรสเปรี้ยว

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP