กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัว

ชื่อ กระบือเจ็ดตัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Excoecaria cochinchinensis
Author name Lour.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่นๆ กะเบือ (ราชบุรี), กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ (ภาคกลาง), ใบท้องแดง (จันทบุรี)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : ตำผสมกับเหล้าคั้นเอาแต่น้ำกิน เป็นยาขับเลือดและน้ำคาวปลาหลัง คลอด ประจำเดือนไม่ปกติ แก้อักเสบบริเวณปากมดลูก
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย : ตามกิ่งก้านมีน้ำยางสีขาวข้นเหมือนน้ำนม แตกกิ่งก้านมาก มีรูอากาศตามผิวกิ่ง

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบกิ่งหรือออกตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยตื้นๆ หลังใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเรียบสีม่วงแดงเข้ม เส้นแขนงใบ ข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อกระจะ ออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีเหลืองอมเขียว ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้นกัน ช่อดอกเพศเมียจะอยู่ส่วนล่าง ส่วนปลายด้านบนจะเป็นดอกเพศผู้ โดยช่อดอกเพศผู้จะเป็นแบบช่อกระจะ มีดอกย่อยอยู่จำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็กลักษณะเป็นรูปไข่เรียงซ้อนกัน

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลมีขนาดเล็กลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม มีขนาดกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ฐานตัด ปลายผลเว้าเข้า ผลมีพู 3 พู เป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกออกได้เป็น 3 ส่วน ภายในมีเมล็ดลักษณะเกือบกลม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร

ราก :

คำอธิบาย :

TOP