ประดู่ (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา)
ชื่อ | ประดู่ (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Pterocarpus indicus |
Author name | Willd. |
ชื่อวงศ์ | FABACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่กิ่งอ่อน, ประดู่ลาย (ทั่วไป), สะโน (นราธิวาส) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | 1.เนื้อไม้ ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอย เครื่องดนตรี 2.แก่นให้สีแดง ใช้ย้อมเนื้อไม้ชนิดอื่นหรือย้อมผ้า 3.ใบและดอกอ่อน รับประทานเป็นผักพื้นบ้าน |
สรรพคุณทางยา | 1.เปลือก ต้มกินแก้ท้องเสีย หรือโรคบิดมีเชื้อ 2.น้ำคั่นจากใบแก่ ใช้สระผม |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ปลายกิ่งห้อยลงไม่เป็นระเบียบบริเวณชายพุ่ม
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลแตกสะเก็ด
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว กว้าง 10-16 เซนติเมตร ยาว 17-23 เซนติเมตร หูใบเป็นรูปหอกแกมรูปแถบปลายแหลม ก้านใบยาว 6-9 เซนติเมตร ตัวใบประกอบด้วย แกนกลาง ยาว 11-14 เซติเมตร ก้านใบย่อย ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ใบย่อยมีจำนวน 5-13 คู่ เรียงสลับกัน กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นรูปไข่ ฐานใบกลม ขอบเรียบ ปลายแหลม เนื้อใบหนาคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นมัน
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกช่อแบบช่อกระจะ กว้าง 15-16 เซนติเมตร ยาว 25-28 เซนติเมตร ก้านช่อ ยาว 10-12 เซนติเมตร มีใบประดับ ยาว 0.25-0.4 เซนติเมตร รูปแถบแกมรูปหอก ก้านดอกย่อย ยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร ดอกย่อย กว้าง 0.5-0.6 เซนติเมตร ยาว 1-1.5 เซนติเมตร มีใบประดับลักษณะเดียวกันปรากฏที่ก้านช่อ แต่หลุดร่วงง่าย ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ลักษณะเป็นรูประฆัง ปลายแยก 5แฉก แต่ละแฉกทู่ กลีบดอกมีจำนวน 5 กลีบ แยกกันมีสีเหลืองเข้ม แบ่งเป็น กลีบกลาง ยาว 0.5-1 เซนติเมตร รูปกลมแกมรูปไข่กลับ กลีบคู่ล่าง ยาว 0.4-0.5 เซนติเมตร รูปกลมรี กลีบคู่ข้าง ยาว 0.2-0.4 เซนติเมตร รูปรี เกสรเพศผู้มี 10 อัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ดอกมีกลิ่นหอม
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : เป็นผลแห้งไม่แตก แบบฝักถั่ว รูปร่างกลมแบน มีส่วนแผ่เป็นปีก ค่อนข้างหนาโดยรอบ มี 1 เมล็ด
ราก :
คำอธิบาย : -