ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ชื่อ ขันทองพยาบาท
ชื่อวิทยาศาสตร์ Suregada multiflora
Author name (A.Juss.) Baill.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่นๆ กระดูก ชายปลวก ยายปลวก (ภาคใต้), ขนุนดง (เพชรบูรณ์), ขอบนางนั่ง (ตรัง), ฃัณฑสกร ช้องรำพัน สลอดน้ำ (จันทบุรี), ขันทอง (พิจิตร), ขันทองพญาบาท หมากดูก (ภาคกลาง), ข้าวตาก (กาญจนบุรี), ขุนทอง (ประจวบคีรีขั
ชื่อสามัญ False lime
แหล่งอ้างอิง False lime
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา แก่น : มีพิษทำให้เมา ใช้สำหรับเป็นยาเบื่อ เนื้อไม้ : เป็นยาภายนอก แก้ลมพิษ เปลือก : แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิ แก้โรคตับพิการ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย : ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นตรง กิ่งก้านอ่อน กิ่งห้อยลง กิ่งมีขนรูปดาว เปลือกต้นสีน้ำตาลแก่ ผิวบางเรียบ เนื้อไม้สีขาว

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 9-22 เซนติเมตร เนื้อใบหนาทึบ เหนียว หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบจักฟันเลื่อย ไม่มีขน มีต่อมใสๆ ขนาดเล็ก เส้นใบข้าง 5-9 คู่ ก้านใบยาว 2- 5 มิลลิเมตร ผิวใบด้านล่างมีต่อมสีเหลือง และมีขนรูปดาว หูใบขนาด 2 มม. แต่ละคู่เชื่อมกัน หลุดร่วงง่าย แต่ทิ้งแผลเป็นวงไว้

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ มีกลิ่นหอมสีเขียวอมสีเหลือง ในช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก อยู่ตรงข้ามกับใบ ดอกมีใบประดับลักษณะเป็นรูปหอกปลายแหลม ดอกจะเป็นแบบแยกเพศแยกต้นและไม่มีกลีบดอก

ผล : ผลสด

คำอธิบาย : ผลมีลักษณะเกือบกลม ผิวผลเกลี้ยง มีขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเหลืองอมส้ม แตกตามพู มีพู 3 พูและมีติ่งเล็ก ๆ อยู่ที่ยอด ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม

ราก :

คำอธิบาย :

TOP