สัก
ชื่อ | สัก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Tectona grandis |
Author name | L.f. |
ชื่อวงศ์ | LAMIACEAE |
ชื่ออื่นๆ | เคาะเยียโอ (ละว้า เชียงใหม่), ปายี้ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), ปีฮี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), เส่บายี้ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) |
ชื่อสามัญ | Teak |
แหล่งอ้างอิง | Teak |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | แก่น : ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้ เปลือกต้น : เข้ายาคุมธาตุ แก่นและใบ : ขับลมในลำไส้ รักษาเบาหวาน ปัสสาวะพิการ และไตพิการ |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ
ลำต้น :
คำอธิบาย : เรือนยอดรูปกลมหรือไข่ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเรียบหรือล่อนออกเป็นแถบชื้นตามยาว กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลืองรูปดาว
ใบ :
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่กลับกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 12-35 ซม. ยาว 15-75 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสากด้านล่างมีขนอ่อนนุ่ม เส้นแขนงใบข้างละ 9-14 เส้น ก้านใบยาว 1-5 ซม.
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ กลีบดอกรูปกรวยปลายแยกเป็น 6 กลีบ แผ่บานโค้งไปด้านหลังมีขน เกสรเพศผู้มี 5-6 อัน เกสรเพศเมียยาวเท่าเกสรเพศผู้มี 1 อัน รังไข่มีขนหนาแน่น
ผล :
คำอธิบาย :
ราก :
คำอธิบาย :