เม่า

เม่า

ชื่อ เม่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma ghaesembilla
Author name Gaertn.
ชื่อวงศ์ PHYLLANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ กูแจ (มลายู-นราธิวาส), ขะเม่าผา, มะเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะเม่าข้าวเบา (ชมุพร), มังเม่า (จันทบุรี), เม่าทุ่ง (ชุมพร, สงขลา)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ -
สรรพคุณทางยา 1.ใบและผล ต้มน้ำอาบ แก้อาการโลหิตจาง ซีด เลือดไหลเวียนไม่ดี
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มหรือไม้ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-6 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกสีน้ำตาล แตกแนวตั้ง มีเส้นใยเปลือกในสีแดง

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปไข่ ปลายมนกลมหรือเว้า โคนมนกลมถึงหยักเว้า ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยง ยอดอ่อนสีอมชมพู มีขน ใบแก่สีเขียวเข้ม มีขนตามขอบใบและบนเส้นกลางใบด้านล่าง

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและที่ปลายยอด แยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กและ มีจำนวนมาก สีเขียวอมเหลือง ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ใบประดับเป็นรูปใบหอก มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงมีประมาณ 3-6 กลีบ แยกออกจากกัน ลักษณะเป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยมถึงรูปขอบ เกสรเพศผู้มีประมาณ 4-6 อัน ดอกเพศเมียมีลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า โดยปลายเกสรเพศเมียจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 3-4 แฉก

ผล :

คำอธิบาย : ผลเป็นช่อ ผลย่อยมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลมรีหรือแบนเล็กน้อย ผิวผลมีขน ผนังชั้นในแข็ง ผลอ่อนเป็นสีขาว พอแก่จะเป็นสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ด 1-2 เมล็ด

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP