เทพธาโร
ชื่อ | เทพธาโร |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cinnamomum parthenoxylon |
Author name | (Jack) Meisn. |
ชื่อวงศ์ | LAURACEAE |
ชื่ออื่นๆ | จวง จวงหอม (ภาคใต้), จะไคต้น จะไคหอม (ภาคเหนือ), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี), การบูร (หนองคาย) |
ชื่อสามัญ | Safrol laurel , Selasian wood |
แหล่งอ้างอิง | Safrol laurel , Selasian wood |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | เปลือกต้น : มีกลิ่นหอม เป็นยาบำรุงธาตุ โดยเฉพาะสำหรับสตรีในวัยเจริญพันธุ์ ขับลมในลำไส้ แก้ลมจุกเสียด แก้ปวดท้อง เนื้อไม้ : มีรสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร แก้ปวดท้อง |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ต้น สูง 10 – 30 เมตร ไม่ผลัดใบ
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกสีขาว เหลืองอ่อน ออกเป็นช่อประจุกตามปลายกิ่ง
ผล :
คำอธิบาย : ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร สีเขียว
ราก :
คำอธิบาย :