มะตูม
ชื่อ | มะตูม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Aegle marmelos |
Author name | (L.) Correa ex Roxb. |
ชื่อวงศ์ | RUTACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะปิน (ภาคเหนือ), มะปีส่า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ผลอ่อนแห้ง : แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับผายลม บำรุงกำลัง ผลแก่ : ขับเสมหะ บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ราก : แก้พิษฝี พิษไข้ ขับลม ใบ : แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้บวม |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดรูปไข่
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : เปลือกต้นสีเทาเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นๆตามยาว เนื้อไม้แข็ง มีสีขาวแกมเหลือง และมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ยาว แข็ง ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามกิ่ง
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบมีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 1-7 เซนติเมตร ยาว 4-13 เซนติเมตร สองใบล่างมีขนาดเล็กและติดตรงข้ามกัน ใบปลายมีขนาดใหญ่ ปลายใบสอบ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือมีหยักมนๆ แผ่นใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ใบอ่อนสีเขียวอ่อนหรือสีชมพู มีขนละเอียด ใบแก่สีเขียวเข้ม เรียบเกลี้ยง
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ดอกสีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน ดอกมักออกพร้อมกับใบอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ โคนติดกัน ดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้มี 65-70 อัน
ผล :
คำอธิบาย : ผล รูปรีกลมหรือรียาว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา แข็งมาก ไม่แตก ผลอ่อนมีสีเขียวพอสุกมีสีเหลือง เนื้อผลมีสีเหลือง นิ่ม มีกลิ่นหอม และมีเนื้อเยื่อสีส้มที่มียางเหนียวๆ ภายในมี 8-15 ช่อง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน จำนวนมาก มียางใสเหนียวหุ้มเมล็ดอยู่ เมล็ดรูปรีๆ และแบน มีเส้นขนหนาแน่นปกคลุม
ราก :
คำอธิบาย :