ยอ
ชื่อ | ยอ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Morinda citrifolia |
Author name | L. |
ชื่อวงศ์ | RUBIACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กะมูดู (มลายู นราธิวาส), คูยู่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน ส่วย), เควาะ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), เคาะขมิ้น มะตาเสือ สะกึย สะเกย หัสเกย (ภาคเหนือ), ตะเกรย (ราชบุรี), ตะลุมพุก (ขอนแก่น), ยอเถื่อน (ชุมพร), ยอบ้าน |
ชื่อสามัญ | Beach mulberry |
แหล่งอ้างอิง | Beach mulberry |
การใช้ประโยชน์ | - ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง) - ราก นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก - ลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ำลูกยอ Noni หรือ น้ำลูกยาโนนิ - รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง - ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม |
สรรพคุณทางยา | ใบ : ต้มดื่มแก้ไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดบวมอักเสบ คั้นเอาน้ำสระผมฆ่าเหา ราก : เป็นยาระบาย แก้กระษัย ผล : แก้คลื่นไส้อาเจียน ต้มดื่มเป็นยาขับประจำเดือน ขับเลือดลม ขับลมในลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2 - 6 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นมีขนาดเล็ก ปลือกลำต้นบางติดกับเนื้อไม้ ผิวเปลือกออกสีเหลืองนวลแกมขาว หยาบสากเล็กน้อย แตกกิ่งน้อย 3 - 5 กิ่ง
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว แทงออกตรงข้ามกันซ้ายขวา มีรูปทรงรี หรือขอบขนาน ใบอ่อนสีเขียวสด เมื่ออายุใบมากจะมีสีเขียวเข้ม โคนใบ และปลายใบมีลักษณะแหลม ขอบใบ และผิวใบเป็นคลื่น ผิวใบมันเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนใบมักพบเป็นตุ่มที่เกิดจากแบคทีเรีย
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม
ผล : ผลสด
คำอธิบาย : ผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ราก :
คำอธิบาย :