เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

ชื่อ เจตมูลเพลิงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumbago indica
Author name L.
ชื่อวงศ์ PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่นๆ คุยวุ่ ตั้งชู้โว้ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ), ไฟใต้ดิน (ภาคใต้), อุบะกูจ๊ะ (มลายู ปัตตานี)
ชื่อสามัญ Indian leadwort
แหล่งอ้างอิง Indian leadwort
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ราก : บำรุงไฟธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร ใช้ผสมเป็นยาบำรุงหลังคลอดเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดเสียด แน่นหน้าอก ทำให้ร่างกายอบอุ่น
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว 1-1.5 เมตร มีอายุหลายปี

ลำต้น :

คำอธิบาย : กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนสีแดง ลำต้นกลมเรียบ กิ่งอ่อนสีเขียวปนแดง มีสีแดงบริเวณข้อ

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 8-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน มีสีเขียว ใบบาง แผ่นใบมักบิด ก้านใบและแกนกลางใบอ่อนมีสีแดง

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก ประมาณ 10-15 ดอก ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกสีแดงสด กลีบบางมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดมีขนยาวที่โคน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก เป็นหลอดเล็ก และมีขนเหนียวๆปกคลุม เมื่อจับรู้สึกเหนียวมือ

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลเป็นฝักกลม ทรงรียาว เป็นผลแห้งเมื่อแก่แตกตามร่องได้ พบตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป ป่าดิบแล้ง

ราก :

คำอธิบาย :

TOP