กลึงกล่อม

กลึงกล่อม

ชื่อ กลึงกล่อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyalthia suberosa
Author name (Roxb.) Thwaites
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่ออื่นๆ น้ำน้อย (เลย), ไคร้น้ำ (อุตรดิตถ์), กระทุ่มกลอง กระทุ่มคลอง ชั่งกลอง ท้องคลอง (ราชบุรี), ช่องกลอง (กาญจนบุรี), มงจาม (อ่างทอง), น้ำนอง (ปัตตานี, ภาคใต้), จิงกล่อม (ภาคใต้), ผักจ้ำ มะจ้ำ (ภาคเหนือ), กำ
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบและกิ่ง : พบสาร suberosol มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV รากและเนื้อไม้ : เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน และขับพิษ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-5 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกสีน้ำตาลเข้มย่นเป็นสันขรุขระ

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปรียาว รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ โคนใบสอบและเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบแต่มักย่นเป็นคลื่นหรือม้วนงอขึ้นเล็กน้อย ใบกว้าง 1.7-3.5 เซนติเมตร และยาว 5-10 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน หรืออาจมีขนสั้น ๆ

ดอก : ดอกเดี่ยว

คำอธิบาย : ดอกเดี่ยว ออกตรงข้ามตามกิ่งหรือเยื้องกับใบใกล้ปลายยอด หรือออกเหนือง่ามใบเล็กน้อย ดอกมีกลิ่นหอม เป็นสีเหลืองห้อยลง กลีบเลี้ยงดอกมี 3 กลีบ รูปไข่ ด้านนอกมีขน กลีบดอกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมน้ำตาล มี 6 กลีบ

ผล : ผลสด

คำอธิบาย : ผลเป็นกลุ่ม มีจำนวนมาก ประมาณ 25-35 ผลย่อยต่อกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงรีหรือกลม ผลเป็นผลสดและมีเนื้อ ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำ

ราก :

คำอธิบาย :

TOP