เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ

ชื่อ เหงือกปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus
Author name Vahl
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ แก้มหมอ (สตูล), แก้มหมอเล (กระบี่), อีเกร็ง (ภาคกลาง), นางเกร็ง จะเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป)
ชื่อสามัญ Holly-leaved mangrove
แหล่งอ้างอิง Holly-leaved mangrove
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : เป็นยาอายุวัฒนะโดยปรุงรวมกับพริกไทย ทั้งต้นและเมล็ด : รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เมล็ด : ยาขับพยาธิ ใบ : คั้นน้ำทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูง 0.5-1 เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง สีขาวอมเขียว มีหนามตามข้อ ข้อละ 4 หนาม และที่ปลายใบ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปหอกยาว ขอบจักเว้ากว้างๆ ปลายจักแหลมคล้ายหนาม แต่บางครั้งอาจพบใบเรียบ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวเข้ม เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา มีหนามรอบใบ แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น เนื้อใบเหนียว ก้านใบสั้น

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกสีขาว ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่

ผล :

คำอธิบาย : ผลเป็นฝักสีน้ำตาล ลักษณะของฝักเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ข้างในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด

ราก :

คำอธิบาย :

TOP